วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นานาสาระน่ารู้

ผู้เขียนนั้นมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก ๆ อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า  แม้แต่ถุงกระดาษที่ใส่ข้าวของมาจากตลาด (สมัยก่อนยังไม่มีถุงพลาสติก “ก๊อปแก๊ป” เกลื่อนกรุงเหมือนทุกวันนี้) ก็ยังแกะออกมาอ่าน  จึงมีสมญาว่า “หนอน”  ปัจจุบันนี้งานหลักก็ยังเป็นการอ่านหนังสือบรรดามี  ยิ่งมาเขียนบทความใน “ชาวไทย”  เวลาอ่านเจอสิ่งใดที่เห็นว่าน่าสนใจก็นึกเลยไปถึงผู้อ่านและมักจดบันทึกหรือตัดเก็บไว้  เรื่องที่นำมาลงวันนี้ก็รวบรวมไว้พักนึงแล้ว  เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน  จึงจัดเป็นเรื่องสัพเพเหระ  ที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบางท่าน
  • ป้อนอาหารลูก ในการป้อนอาหารคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ประสบกับความยากลำบากในช่วงเริ่มต้น  หากลูกร้องไห้ขณะป้อนอาหาร   Maria Flothkoettler หัวหน้าโครงการเครือข่าย “Gesund ins Leben“ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อการบริโภคชี้แจงว่าอาจจะเป็นเพียงแค่ปวดฟัน ยังกลืนไม่ค่อยได้หรือหิวเกินไปแล้ว  ส่วนใหญ่จะแก้ไขปัญหาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนสิ่งง่าย ๆ ๒-๓ อย่าง  ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่ควรปลอบลูกที่หิวให้สงบลงและป้อนช้อนแรกให้เร็วขึ้น  ที่พบได้บ่อย ๆ สิ่งที่เด็กต้องสร้างความเคยชินว่าอาหารบดกินได้ช้ากว่าการดื่มนม  ไม่ได้ไหลตามกันออกมาทันทีตลอดเวลาเหมือนเวลาให้นม  การให้นมเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ สามารถช่วยได้  เนื่องจากเด็กจะไม่ค่อยหิวมากแล้ว  เธอแนะนำว่าในการป้อนอาหารครั้งหน้า ผู้ปกครองควรป้อนเร็วขึ้นกว่าเดิมก่อนที่ลูกจะเริ่มหิว
  • พินัยกรรมต้องเป็นการเขียนจากผู้มอบมรดกด้วยตัวเอง ในการเขียนอาจได้รับการช่วยเหลือเล็กน้อยได้  อย่างไรก็ดี ในการเขียนด้วยลายมือของผู้มอบมรดกไม่ได้รับอนุญาตให้จับเขียนโดยบุคคลที่สาม  เนื่องจากกฎหมายเรียกร้องว่าพินัยกรรมที่เขียนเองจะมีผล ผู้มอบมรดกต้องมีความสามารถในการเขียนที่ไม่ถูกครอบงำ  ทั้งนี้ เป็นการตัดสินของศาลสูงที่ Hamm ตามที่สภาทนายความ Oldenburg เปิดเผย  ในกรณีที่เป็นข้อพิพาท ผู้มอบมรดกได้เขียนพินัยกรรม ๒ เดือนก่อนการเสียชีวิต  ดังนั้น ญาติจึงยื่นเรื่องขอ Erbschein  ในการพิสูจน์หลักฐานพบว่าพยานผู้หนึ่งได้ช่วยเหลือเจ้าของมรดกที่ขณะนั้นอ่อนแรงมากแล้วในการเขียนพินัยกรรม  ในการให้ปากคำต่อศาล พยานไม่สามารถยืนยันสมรรถภาพในการเขียนเองของเจ้าของมรดกได้แน่ ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่าพินัยกรรมไม่มีผล  เนื่องจากตามความเห็นของผู้พิพากษา ในการเขียนด้วยตนเอง  ผู้มอบมรดกต้องเขียนการใคร่ครวญเป็นลายลักษณ์อักษรให้สำเร็จด้วยตนเอง  ดังนั้น ข้อความที่ทำผ่านบุคคลที่สามจึงไม่มีผล  แม้ว่าทำต่อหน้าเจ้าของมรดกตามความประสงค์และคำสั่งของเจ้าตัวและได้รับการลงชื่อจากเจ้าของมรดก  เช่นเดียวกับหากมือของเจ้าของมรดกมีการช่วยจับให้เขียนและตัวอักษรเกิดจากการทำให้เป็นรูปร่างผ่านบุคคลที่สาม
  • อุณหภูมิร่างกายของผู้สูงอายุสามารถลดต่ำได้เร็วเป็นพิเศษ หากผู้สัญจรบนท้องถนนสังเกตเห็นผู้สูงอายุที่แต่งตัวไม่เหมาะสมกับการต่อสู้กับความหนาวเย็นและพอสังเกตดูว่ากำลังสับสนไม่รู้ทิศทางว่าจะไปไหนแน่ควรแจ้งตำรวจ  Christine Sowinski พยาบาลและนักจิตวิทยาของ Kuratorium Deutsche Altershilfe (KDA) กล่าวว่าผู้สูงอายุจำนวนมากอายที่จะพูดกับผู้อื่นในสถานการณ์ดังกล่าว  แต่หากอุณหภูมิในตัวลดต่ำ  เวลามีความสำคัญมาก  ที่ดีที่สุด คือ ถามว่าจะให้ช่วยอะไรหรือไม่  หาอะไรหรือ?  หากมีความรู้สึกว่าผู้สูงอายุผู้นั้นเลอะเลือนหรือบางทีอาจหลงลืมไม่ควรอายที่จะติดต่อกับตำรวจและขอความช่วยเหลือ   ที่สำคัญ คือ ตลอดเวลานี้มีคนอยู่กับบุคคลผู้นั้น  เพื่อที่จะไม่เดินเปะปะไปตามลำพัง
  • ควรทำอย่างไรหากเด็กอายุน้อยกว่า ๓ เดือนและไข้ขึ้น ๓๘ องศาหรือมากกว่า? ผู้ปกครองควรนำตัวลูกไปพบกุมารแพทย์  Monika Niehaus โฆษกของสมาคมกุมารแพทย์และเยาวชน (BVKI) กล่าวว่าในวัยนี้ระบบภูมิคุ้มกันโรคยังพัฒนาไม่เต็มที่และแทบไม่สามารถป้องกันโรคได้  ทางที่ดีที่สุด คือ ผู้ปกครองควรวัดอุณหภูมิที่ก้น  เพื่อให้ให้แน่ใจว่าวัดไข้ได้ถูกต้อง  ผู้ปกครองควรวัดอุณหภูมิลูกตอนที่แข็งแรงดีไว้ก่อน ๒-๓ ครั้ง  เด็กที่สุขภาพดีจะมีอุณหภูมิร่างกายระหว่าง ๓๖.๕-๓๗.๕ องศา  ส่วนใหญ่เชื้อโรคเป็นต้นเหตุให้เกิดไข้สูง  แต่ความร้อนสูงเกินไป เช่น ยามที่เด็กใส่เสื้อผ้ามากเกินไปก็สามารถนำไปสู่การมีไข้สูงได้  การขาดน้ำก็ทำให้เกิดไข้ในเด็กเช่นเดียวกัน  กุมารแพทย์แนะนำว่ายิ่งทารกยังเล็กเท่าใด การไปพบแพทย์ก็ยิ่งมีเหตุผลดี
  • ในอุณหภูมิที่หนาวเย็นยากที่จะลุกไปเล่นกีฬา แต่ประชาชนสูงอายุไม่ควรงดเว้นการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิง   หากแต่แบ่งทำเป็นรอบเล็ก ๆ  ศาสตราจารย์ Wolfgang Schlicht จากคณะกีฬาและการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัย Stuttgart กล่าวว่าการเคลื่อนไหว ๑๐-๒๐ นาทีด้วยความจริงจังปานกลางก็เพียงพอแล้ว  ตัวอย่างความจริงจังปานกลางก็ได้แก่ การเดินเล่น  เพื่อป้องกันโรคหัวใจ-การไหลเวียนของโลหิตและเบาหวาน ผู้สูงอายุควรเดินสัปดาห์ละ ๑๕๐ นาที  ผู้ที่รู้สึกแข็งแรงดีได้รับอนุญาตให้ทำมากกว่านี้

เรียบเรียงโดย “เอื้อยอ้าย”

ข้อมูล  Aachener Zeitung

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น