วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

เยอรมันเป็นเป้าหมายของผู้อพยพ

        ในปีนี้ ประเทศเยอรมันเป็นประเทศรับผู้อพยพที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ ๒ ตามหลังสหรัฐอเมริกามาติดๆ  ตั้งแต่ปลายปี ๒๐๑๔ จำนวนชาวต่างชาติที่รับเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็น ๘.๒ ล้านคนหรือมากกว่าปี ๒๐๑๓ ถึง ๗%  ในปีนี้จำนวนมากกว่าอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง  ตามรายงานการโยกย้ายถิ่นสำหรับปี ๒๐๑๕ ที่ได้รับการเสนอโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ปารีสเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายนที่ผ่านมา  โดยรายงานรวบรวมความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในตัวเลขที่มาจากคลื่นผู้ลี้ภัย  ปีนี้สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีคาดหมายตัวเลขผู้ขอลี้ภัย ๘๐๐,๐๐๐ คน  ซึ่งตามรายงานเป็นการขยับตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดของปีที่เคยได้รับการบันทึกในประเทศ OECD  รวมทั้งสิ้นคำนวณตัวเลขการขอลี้ภัยได้ถึง ๑ ล้านในประเทศสมาชิก ๓๔ ประเทศ  ๔๕๐,๐๐๐ คนจากจำนวนนี้สามารถอยู่ได้ถาวร นับแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่เคยมีประชาชนหลบหนีภัยจำนวนมากเท่านี้มาก่อน  ในการศึกษาระบุว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยุโรปและโลกต้องร่วมกันปฏิบัติการรับมือ  โดยรวมยุโรปทุกวันนี้เตรียมพร้อมสำหรับกรณีผู้ลี้ภัยดีกว่าระหว่างวิกฤตบอลข่านในทศวรรษที่ ๙๐  โดยเฉพาะประเทศยุโรปตะวันออกที่ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการลี้ภัยจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากพันธมิตรสหภาพยุโรป  เป้าหมายที่สำคัญที่สุดหลังเยอรมันและสหรัฐ ได้แก่ ตุรกี  สวีเดน  และอิตาลี  ผู้เชี่ยวชาญ OECD เห็นคลื่นการลี้ภัยสูงที่ประเทศที่มีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจดีที่สุด ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งดูจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด  ขณะเดียวกันการปรับตัวด้านอาชีพของชาวต่างชาติดีขึ้นต่อเนื่อง  โดยเฉพาะตัวเลขผู้ทำงานด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างหนัก  ขณะที่ในปี ๒๐๑๔ ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีนและอินเดีย รวมทั้งจากโปแลนด์และโรมาเนีย อันเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นใน EU  ในเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ที่เดินทางเข้ามาผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและบอลข่านตะวันตกเพิ่มมากขึ้น  นับตั้งแต่เดือนมกราคมประชาชนมากกว่า ๓๓๐,๐๐๐ คนมาถึงยุโรปผ่านเส้นทางทางทะเล  การสิ้นสุดของการลี้ภัยหมู่ดูเหมือนยังมองไม่เห็น  ชาวซีเรียและอิรักหลายล้านคนขณะนี้อยู่ในประเทศตุรกีและเลบานอน  รายงานชี้แจงว่าความยากที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับผู้ลี้ภัยที่จะหางานได้ในประเทศนี้ การอยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมายหรือเพียงการส่งบุตรไปโรงเรียนเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ว่าทำไมคลื่นการลี้ภัยมายุโรปจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น