วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เนื้อสัตว์แปรรูป-อาหารก่อมะเร็ง

        องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงในรายงานฉบับหนึ่ง  ว่าไส้กรอกและเนื้อสัตว์เป็นอาหารก่อมะเร็ง  ผู้บริโภคควรจำกัดการบริโภค  ตามการประเมินของสำนักงานตัวแทนวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ไส้กรอก แฮม  และเนื้อสัตว์ที่แปรรูปอื่น ๆ เป็นสารก่อมะเร็ง  เจ้าหน้าที่ของ WHO  เปิดเผยเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคมที่ผ่านมาที่ Lyon ว่าการบริโภคเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงสำหรับมะเร็งลำไส้  นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญจัดเนื้อสัตว์สีแดงโดยทั่วไปว่าเป็นอาหารก่อมะเร็ง  ในจำนวนนี้ หมายถึง เนื้อกล้ามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น วัว หมู ลูกแกะ ลูกวัว แกะ ม้า  และแพะ  Christopher Wild หัวหน้าสำนักงาน ฯ กล่าวว่าผลการศึกษานี้  ช่วยยืนยันข้อเสนอแนะด้านสุขภาพที่ใช้อยู่ให้จำกัดขอบเขตการบริโภคเนื้อสัตว์ 
ศาสตราจารย์ Heiner Boeing จากสถาบันเพื่อการวิจัยอาหารเยอรมันที่ Potsdam-Rehbrücke ที่ไม่ได้ร่วมในรายงาน  ย้ำว่าคนเราสามารถกินเนื้อสัตว์ได้โดยไม่ต้องคิดมาก  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน  สมาคมอาหารเยอรมัน (DGE) แนะนำว่าไม่ควรกินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์มากเกินกว่า ๓๐๐-๖๐๐ กรัมต่อสัปดาห์ 
Antje Gahl โฆษกของ DGE กล่าวที่บอนน์ว่า  แต่ความเป็นจริงทั่วประเทศเป็นอย่างอื่น  โดยผู้ชายกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์เฉลี่ยสัปดาห์ละมากกว่านี้สองเท่า คือ ไส้กรอกและเนื้อสัตว์ ๑,๐๙๒ กรัม  ในผู้หญิงอยู่ที่เกณฑ์ระดับบนด้วยจำนวน ๕๘๘ กรัม  คณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ๒๒ คนได้วิเคราะห์การศึกษามากกว่า ๘๐๐ ชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคเนื้อสัตว์และความเสี่ยงสำหรับโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ 

เจ้าหน้าที่ WHO สรุปว่าความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น ๑๘% ในการบริโภควันละ ๕๐ กรัม  การแปรรูปหมายถึงว่าเนื้อสัตว์มีการหมักเกลือหรือรมควัน  ตามข้อมูลของ Kurt Straif จากสำนักงานตัวแทนวิจัยโรคมะเร็ง ความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นพร้อมกับปริมาณของเนื้อสัตว์ที่บริโภค  ตามสายตาของนักวิชาการ  เนื้อสัตว์สีแดงมีข้อยืนยันที่บ่งชี้ว่าสามารถก่อมะเร็งในมนุษย์  ต่อคำถามที่ว่า  วิธีการปรุงที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งหรือไม่  ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะตอบได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น