วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กำจัดความหิวโหยและความยากจน

        นับแต่มีมนุษย์ก็มีความหิวโหย ความยากจน การปฏิบัติต่อไม่เท่าเทียมกัน  องค์การสหประชาชาติวางแผนจะเอาชนะความหิวโหยและความยากจนสุดขีดให้ได้ใน ๑๕ ปี  ผู้นำประเทศและหัวหน้ารัฐบาลราว ๑๖๐ ประเทศรวมทั้งพระสันตปาปาได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ ๒๖-๒๗ กันยายนที่ผ่านมาเพื่อยืนยันเป้าหมายนี้  แต่ไม่มีผู้ใดรู้ว่าเป้าหมายนี้ฝันเฟื่องเกินไปหรือเปล่า  เป้าหมายความยั่งยืน (ชื่อย่อภาษาอังกฤษ SDGs ) เป็นตอนต่อของ MDGs (เป้าหมายการพัฒนาช่วงสหัสวรรษ) เมื่อ ๑๕ ปีก่อนนักการเมืองจากทั่วโลกได้ตกลงกันว่าจนกว่าจะถึงปี ๒๐๑๕ จะลดตัวเลขผู้หิวโหยและผู้ยากจนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า ๑.๕๐ ดอลลาร์ต่อวันลงครึ่งหนึ่ง ให้การศึกษาประถมต้นเด็กทุกคนและลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา  และตามความเป็นจริงเป้าหมายเหล่านี้จำนวนมากสัมฤทธิ์ผลหรืออย่างน้อยก็เกือบบรรลุผล  ดังนั้น จึงควรกำหนดเป้าหมายตามด้วย SDGs  ในอีก ๑๕ ปีข้างหน้าความหิวโหยและความยากจนทั่วโลกในทุกรูปแบบควรถูกกำจัดไป  นอกจากนั้น ประชาชนทุกคนควรมีน้ำสะอาดและสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ใช้ได้  การละเลยสตรีและเด็กหญิงไม่ควรมีอีกต่อไปและมนุษย์ทุกคนสามารถใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ควรลดลงและสร้างความเจริญเติบโตทั่วโลก  ประกอบอุตสาหกรรมในรูปแบบที่ยั่งยืน  Bill Gates ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์กล่าวว่าอุปสรรคสูง  แต่เช่นที่เราเห็นในรอบ ๑๕ ปีสุดท้ายมีโอกาสที่ดีถึงความสำเร็จ  เขาโต้แย้งว่าไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มาตรฐานชีวิตของประชาชนจำนวนมากเพิ่มขึ้นมากเช่นนับแต่ปี ๒๐๐๐  ขณะนี้ SDGs แสดงโลกอย่างที่เราอยากให้เป็นมาตลอดเวลา  SDGs หมายถึงการผลักดันประเทศกำลังพัฒนาไปข้างหน้า  ประเทศที่พัฒนาแล้วให้เป็น “สีเขียว”  

Christian Kroll หัวหน้าคณะการวิจัยศึกษาของมูลนิธิ Bertelsmann กล่าวว่าหากถือเป้าหมายความยั่งยืนเป็นเครื่องวัด ประเทศทุกประเทศยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา  เขาได้ตรวจสอบความยั่งยืนของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ทั้งหมดและพบว่าเศรษฐกิจการเกษตรเป็นเกษตรอินทรีย์น้อยเกินไป การปกป้องธรรมชาติไม่เพียงพอ และมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ผลิตขยะมากกว่าชาวเยอรมัน  องค์การให้ความช่วยเหลือมองเห็นปัญหาสังคมด้วย  หากปราศจากการปรับการแบ่งสรรจะไม่สามารถเป็นไปได้  Tobias Hauschild จาก Oxfam กล่าวว่าเราสามารถยุติความยากจนสุดขีดได้โดยต้องปิดช่องโหว่ด้านการแบ่งสรรระหว่างผู้ร่ำรวยและประชาชนที่เหลือ  มีข้อสงสัยว่าเป้าหมายสหัสวรรษเพียงประสบความสำเร็จเนื่องจากความมั่งคั่งในอดีตประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีนและเกาหลีพุ่งขึ้นระดับบน  แต่บิล เกตส์ไม่เห็นด้วย  ทั้งลิเบอเรีย แทนซาเนีย มาลาวี บังคลาเทศและเอธิโอเปียบรรลุเป้าหมายลดการเสียชีวิตของเด็กลง ๒ ใน ๓ และเอธิโอเปียที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของความหิวโหยและความยากจนได้กระทำความก้าวหน้าที่สำคัญบางประการ  เป้าหมายที่ชัดเจนบรรลุผลเนื่องจากผลักดันประเทศผู้ให้ ประเทศกำลังพัฒนาและประชาชนให้ร่วมงานกัน  หากทั้งหมดประสบผล ๑๕ ปีข้างหน้าอาจเป็นศักราชที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น