วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

        ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือปอท.ของประเทศไทยได้ให้ข้อมูลประชาชนให้เข้าใจกฎหมายในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยและเพื่อรู้ทันและป้องกันกลอุบายต่าง ๆ  ไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี  โดยปอท.ได้รวบรวม ๑๐ พฤติกรรม “ไลค์ เม้นท์ แชร์ โพสต์ เสี่ยงคุก” ที่ประชาชนมักกระทำผิดไว้ ได้แก่
๑.                การอัพโหลดรูปลามกอนาจาร ทั้งรูปตนเองและบุคคลอื่น
๒.              ตั้งตัวเป็นเจ้ากรมข่าวลือปล่อยข่าวให้บ้านเมืองเกิดความชุลมุนวุ่นวาย
๓.              ชอบใช้วิทยายุทธ์เฉพาะตัว คือ ตัดต่อภาพบุคคลอื่นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวและเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหายหรือได้รับความอับอาย
๔.              แอบบันทึกข้อมูลของผู้อื่น  แล้วนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เพื่อหากำไร  หรือใช้กลั่นแกล้ง
๕.              ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นหรือกุเรื่องให้บุคคลอื่นเสียหาย ได้รับความอับอาย
๖.               มีความอยากรู้อยากเห็นสูง คือ การนำไอดีหรือพาสเวิร์ดของบุคคลอื่นไปใช้เพื่อแอบดูข้อมูล
๗.             แก้ไขเพิ่มเติมไฟล์งานของบุคคลอื่น  ทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของไฟล์
๘.             ส่งข้อมูลลูกโซ่โดยไม่บอกที่มาหรือส่งอีเมลที่ขายสินค้าที่ผู้รับไม่ต้องการ  สร้างความเบื่อหน่าย  และรำคาญ
๙.              ตั้งสำนักงานข่าวเป็นของตัวเองหรือกดแชร์ข้อมูลทั้งในแอพลิเคชัน ไลน์ เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์  โดยไม่ตรวจสอบและเป็นข้อความที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๑๐.         การโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูง


เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนว่าการโพสต์ข้อความหรือส่งต่อไปในสังคมออนไลน์สามารถตรวจสอบได้  เพราะมีหลักฐานปรากฏชัดเจน แม้จะมีการปลอมชื่อเพื่อปิดบังตัวตน  รวมทั้งผู้ที่กดไลค์หรือคอมเมนท์แสดงความคิดเห็น ก็อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้  เนื่องจากเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด  ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อจับผู้โพสต์หรือแชร์ข้อความได้มักอ้าวว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น