วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สารก่อมะเร็ง

        การประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคมที่ผ่านมาที่จัดให้ไส้กรอกและเนื้อสัตว์เป็นตัวก่อมะเร็งก่อให้เกิดความตื่นเต้นประหลาดใจ  ขณะนี้ไส้กรอก ซาลามีหรือสเต็กถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่คล้ายคลึงกับ Asbest ควันบุหรี่และรังสีการฉายแสงจากสำนักงานตัวแทนวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ที่ขึ้นอยู่กับ WHO  แม้ว่าความเสี่ยงโรคมะเร็งจากของเหล่านี้จะไม่เหมือนกับการบริโภคเนื้อสัตว์ก็ตาม  โดยขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้น ๆ เผชิญกับสารก่อมะเร็งมากเพียงไร 
แต่หมายถึงอะไรสำหรับผู้บริโภค?  เนื่องจากชาวเยอรมันแต่ละคนกินเนื้อหมูเฉลี่ยราว ๓๘ กิโลกรัมและเนื้อวัวเกือบ ๙ กิโลกรัมต่อปี  คนเราต้องเปลี่ยนมาเป็นพวกมังสวิรัติกันหมดหรือ?  อย่างน้อยจากฝ่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริโภค คำตอบชัดเจนว่า “ไม่” 

ศาสตราจารย์ Heiner Boeing จากสถาบันเพื่อการวิจัยการบริโภคจาก Potsdam-Rehbrcke กล่าวว่าการกินเนื้อสัตว์ทำให้เราได้รับธาตุเหล็ก โปรตีนคุณค่าสูง  และวิตามินบางชนิด  อย่างไรก็ดีต้องระมัดระวังไม่กินเนื้อสัตว์มากเกินไป  ที่แน่นอนคือยิ่งกินมาก ความเสี่ยงยิ่งสูงขึ้น  ตามรายงานของ WHO ความเสี่ยงโรคมะเร็งจากการกินเนื้อสัตว์มากเกินไป  จะเพิ่มขึ้นราว ๑๘%  ในการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ๕,๐๐๐% ในสตรี  และ ๖,๐๐๐% ในบุรุษ  ตามข้อมูลของ WHO การกินเนื้อสัตว์เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้  แต่ก็มีข้อบ่งชี้ถึงความเกี่ยวพันกับมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย  แต่มีข้อพิสูจน์  นอกจากนั้นในเนื้อสัตว์สีแดงอาจมีความเกี่ยวßhväกับมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น