วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

“ยามหัศจรรย์” ไม่ให้ผล

ชาวเยอรมันกลืนยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป  ทำให้ยาต่อต้านแบคทีเรียที่สำคัญลดพลังการให้ผลน้อยลง  ในปี ๒๐๑๓ เกือบ ๓๐% ของการเขียนใบสั่งยาปฏิชีวนะน่าสงสัย  ทั้งนี้ เป็นผลการศึกษาของบริษัทประกันสุขภาพ  DAK-Gesundheit ที่ได้รับการเสนอเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคมที่ผ่านมาที่เบอร์ลิน  ผลคือแบคทีเรียมากขึ้นทุกทีพัฒนาการดื้อยาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้มากขึ้นทุกที  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรงพยาบาล  Herbert Rebscher ประธาน DAK-Gesundheit เรียกร้องแพทย์และคนไข้ให้จัดการกับยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น  ๔๐% ของผู้ถูกสอบถามได้รับข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้สารให้ได้ผลดี  เช่น เรียกร้องให้ให้ยาปฏิชีวนะหากเป็นหวัดหรือ Bronchitis ซึ่งไม่ช่วยอะไร  เพราะว่า ๙๐% ของทั้งหมดเป็นการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัส
จากการศึกษาการดูแลมากเกินไปและผิด ๆ จะชัดเจนเป็นพิเศษระหว่างช่วงเวลาของโรคหวัด  ความคาดหวังที่เป็นปัญหาของคนไข้ส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเขียนใบสั่งของแพทย์  แม้ว่าแพทย์โดยทั่วไปรู้เกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการของสารต่อต้านแบคทีเรีย  แต่เพื่อสงบจิตใจคนไข้โรคหวัดก็ยังเขียนใบสั่งยาปฏิชีวนะ  แม้ว่าอัตราการเขียนใบสั่งในเด็กลดลง
กระนั้น รายงานยาปฏิชีวนะฉบับแรกของ DAK ก็ยังแสดงว่าคนไข้เด็กที่ทำประกันยังได้รับใบสั่งยาปฏิชีวนะมากกว่าผู้ใหญ่   ผลที่ตามมาที่น่าวิตกของการใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยเห็นได้ชัดในโรงพยาบาล  ที่ซึ่งแบคทีเรียที่ดื้อยาเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้  การวิเคราะห์แสดงว่ามีการพบเชื้อโรคในโรงพยาบาลในตัวคนไข้มากขึ้นทุกที  จากผู้ทำประกัน ๑ ล้านคนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในปีที่ผ่านมา ๒๐,๐๐๐ คน  มีเชื้อโรคที่ดื้อยาในตัว  ในปี ๒๐๑๐ ยังเป็นราว ๑๕,๐๐๐ คน  ทั่วประเทศและจากทุกบริษัทประกันสุขภาพ คนไข้ ๗,๕๐๐-๑๕,๐๐๐ คนเสียชีวิตในแต่ละปีจากการติดเชื้อที่เกิดระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น