วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

อีซีบี ออกพันธบัตร QE แก้เงินฝืดยูโรโซน

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสบดี (22 ม.ค.) ประกาศจะดำเนินมาตรการเข้าซื้อพันบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชนมูลค่า 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภาวะเงินฝืดในพื้นที่ยูโร
อีซีบีเผยว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2016 แม้มีเสียงคัดค้านจากบุนเดสแบงก์ของเยอรมนีและความกังวลต่างๆ ในเบอร์ลิน กรณีที่มันอาจเปิดทางให้ประเทศต่างๆ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายและหย่อนยานในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ
มาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีเผยว่าประกอบกับกับมาตรการเข้าซื้อหนี้เอกชนและปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำหลายแสนล้านยูโรแก่ธนาคารกลางต่างๆที่มีอยู่ก่อนแล้ว มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) ใหม่นี้จะอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเดือนละ 60,000 ล้านยูโร ซึ่งหากนับจนถึงเดือนกันยายนปีหน้าก็จะใช้เงินมากกว่า 1 ล้านล้านยูโร
“เมื่อรวมทั้งการซื้อพันบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชนจำนวนจะอยู่ที่ 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน” ดรากิแถลงต่อผู้สื่อข่าว “พวกเขามีความตั้งใจดำเนินการไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2016 หรืออาจดำเนินไปจนกว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางของเงินฝืด”
ด้วยความเคลื่อนไหวของอีบีซีจะเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรอง นั่นหมายว่าธนาคารกลางยุโรปแห่งนี้จะเข้าซื้อหนี้ของเหล่าชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อย่างเช่นเยอรมนี น้อยกว่าพวกสมาชิกเล็กๆ
อธานาซิออส ออร์ปานิเดส อดีตคณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบี ตำหนิความเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่าช้าเกินไป “อีซีบีควรดำเนินมาตรการ QE มานานแล้ว” เขาบอก “ตอนนี้สถานการณ์ทรุดหนักมาก และอีซีบีจำเป็นต้องทำอะไรที่มากกว่านี้”
ดรากิ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างสมดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของยูโรโซนให้หลุดพ้นจากภาวะเฉื่อยชา ท่ามกลางเสียงคัดค้านของเยอรมนี ที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยงและความเป็นไปได้ของการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
ความตึงเครียดปะทุขึ้นระหว่างที่อีบีซีกำลังเปิดประชุม โดยนายมิเชล ซาแปง รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสโจมตีเบอร์ลินว่า “เยอรมนีสอนให้เราเคารพความเป็นอิสระของธนาคารกลางยุโรป เขาบอกผ่านสถานีวิทยุแห่งหนึ่งของแดนน้ำหอม พวกเขาก็ควรตระหนักแบบเดียวกัน”
ส่วนนักกฎหมายชาวเยอรมนีคนหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงจากความพยายามระงับการปล่อยเงินกู้ยูโรโซน บอกว่าเขากำลังเตรียมการยื่นคำร้องทางกฎหมายคัดค้านมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรของอีซีบีครั้งนี้
ดรากิ บอกว่าร้อยละ 20 ของการเข้าซื้อสินทรัพย์จะต้องกระจายความเสี่ยง บ่งชี้ว่าเป็นไปได้ที่เหล่าธนาคารกลางประเทศต่างๆ จะต้องแบกรับความเสี่ยงกันเอง ทำให้นักวิจารณ์ออกมาตั้งคำถามต่อแนวคิดนี้ เนื่องจากประเทศที่มีหนี้สินสูงอยู่แล้วอาจพบว่าตนเองต้องแบกรับภาระมากขึ้นไปอีก
อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนร่วงสู่แดนลบเมื่อเดือนที่แล้ว ต่ำกว่าอย่างมากจากเป้าหมายของอีบีซีที่วางไว้ราวๆ ต่ำกว่าร้อยละ 2 เล็กน้อย ก่อความกังวลเพิ่มเติมว่าจะตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงแบบญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีข้อสงสัยต่างๆ นานา ไม่ใช่เฉพาะเยอรมนีว่าวิธีการพิมพ์เงินเข้าระบบนั้นจะได้ผลจริงหรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น