วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ประท้วง’ชาร์ลีเอ็บโด’เดือด!จลาจลที่ไนเจอร์ตาย4ศพ โลกมุสลิมชุมนุมต้านการ์ตูนล้อ

มีผู้เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บ 45 คนในไนเจอร์ ท่ามกลางการประท้วงรุนแรงต่อต้านนิตยสารฝรั่งเศส “ชาร์ลี เอ็บโด” ขณะที่การตีพิมพ์การ์ตูนล้อศาสดามูฮัมหมัดของสื่อฉบับนี้กระพือความโกรธแค้น แก่โลกมุสลิม และกระตุ้นให้ชาวอิสลามไล่ตั้งแต่เอเชีย ตะวันออกไปจนถึงแอฟริกา ออกมาชุมนุมตามเมืองใหญ่ๆในวันศุกร์(16ม.ค.)
       มัสซาโออูดัว ฮัสซัวมี รัฐมนตรีมหาดไทยไนเจอร์ เปิดเผยว่ามีตำรวจ 1 นายและพลเรือน 4 คนเสียชีวิตที่ซินเดอร์ เมืองใหญ่สุดอันดับ 2 ของประเทศ ท่ามกลางเหตุจลาจลย่อมๆมีโบสถ์คริสต์ถูกปล้นสะดม 3 แห่งและศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสโดนวางเพลิง
เหตุความไม่สงบ มีชนวนจากประชาชนหลายพันคนที่รวมตัวกันรอบนอกมัสติดต่างๆหลังการสวดมนต์วัน ศุกร์(16ม.ค.) พากันแสดงความขุ่นเคืองต่อการล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดของนิตยสารฝรั่งเศส จากนั้นก็เกิดปะทะกับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 22 นายและผู้ประท้วงบาดเจ็บ 23 คน ขณะที่สถานีวิทยุแห่งชาติรายงานว่ามีโบสถ์คาทอลิก 1 แห่งกับโบสถ์โปรเตสแตนต์ถูกโจมตี ส่วนแพทย์ของโรงพยาบาลประจำเมืองบอกว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีบาดแผลถูกยิง ด้วยกระสุนปืน เช่นเดียวกับผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน
   ท่ามกลางการชุมนุมที่เป็นไปอย่างสงบในหลายประเทศ ไนเจอร์ถือว่าเป็นชาติที่ 2 ต่อจากปากีสถาน ที่มีเหตุความวุ่นวายระหว่างการชุมนุมต่อต้านนิตยสารชาร์ลี เอ็บโด โดยที่ปากีสถาน ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจด้านนอกสถานกงสุลฝรั่งเศสใน เมืองการาจี ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ในนั้นรวมถึงช่างภาพของเอเอฟพี
นิตยสารแนวเสียดสีนี้ตีพิมพ์ภาพศาสดามูฮัมหมัดอีกครั้งเมื่อวัน พุธ(14ม.ค.) แต่คราวนี้มีหยดน้ำตาไหลออกมาจากดวงตาของพระองค์และถือป้าย “ฉันคือชาร์ลี” (Je suis Charlie) พร้อมข้อความพาดหัวว่า “ให้อภัยหมดแล้ว” โดยมันนับเป็นฉบับแรกที่ออกวางจำหน่าย นับตั้งแต่นิตยสารแห่งนี้ถูกมือปืนอิสลามิสต์โจมตีสำนักงานในกรุงปารีสเมื่อ วันที่ 7 มกราคม คร่าชีวิต 12 ศพ
ภาพดังกล่าวก่อความขุ่นเคืองแก่ชาวมุสลิม โดยกาตาร์ ประณามว่ามันเป็นการ์ตูนที่ก้าวร้าว “พฤติกรรมที่น่าอดสูนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย มันรังแต่จะกระพือความโกรธแค้นและเกลียดชัง” กระทรวงการต่างประเทศเตือน พร้อมระบุว่า “มันละเมิดคุณค่าของมนุษย์ต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ความอดทน ความยุติธรรมและการให้ความเคารพต่อกัน”
ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของบาห์เรนก็แสดงจุดยืนในทิศทางเดียวกัน โดยบอกว่าการตีพิมพ์การ์ตูนล้อลักษณะนี้จะก่อพื้นฐานความคิดที่แผ่กระจาย ความเกลียดชังและก่อการร้าย “การ์ตูนของชาร์ลี แอบโด ฉบับล่าสุดน่าอัปยศอย่างยิ่งและไม่ควรมีความพยายามยั่วยุมุสลิมและเย้ยหยัน ศรัทธาของพวกเขาอีก”
        พบเห็นเหล่าผู้ชุมนุมราว 1,000 คนในกรุงดาการ์ เมืองหลวงของเซเนกัล จุดไฟเผาธงชาติฝรั่งเศสด้านนอกสถานทูตแดนน้ำหอม ประณามชาร์ลี เอ็บโด และตะโกนกู่ก้องสรรเสริญศาสดามูฮัมหมัด
ในกรุงอัมมัม ของจอร์แดน ผู้ประท้วงราว 2,500 คน เดินขบวนจากมัสยิดอัล-ฮัสเซนี ภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มข้น พร้อมชูป้ายข้อความว่า “การดูหมิ่นศาสดามูฮัมหมัดคือก่อการร้ายโลก”
พรรคอิสลามิค แอคชัน ฟรอนต์ พรรคฝ่ายค้านของจอร์แดน ฝ่ายการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมสาขาจอร์แดน ประณามการเผยแพร่การ์ตูนล้อเลียนดังกล่าวว่า “เป็นการโจมตีมุสลิมทั่วโลก” ส่วนกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าผู้นำโลกที่ร่วมเดินขบวนแสดงความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียว กันต่อต้านการก่อการร้ายในปารีส บอกเมื่อวันพฤหัสบดี(15ม.ค.) การชาร์ลี เอ็บโด ฉบับล่าสุดนั้นขาดความรับผิดชอบและขาดการยั้งคิด
ชาวแอลจีเรียราว 2,000-3000 คน เดินขบวนในกรุงแอลเจียร์ ตะโกนว่า “เราทุกคนล้วนศรัทธามูฮัมหมัด” ขณะที่บางส่วนก็ตะโกนสนับสนุนสองพี่น้องคูอาชี ที่ลงมือสังหารหมู่ชาร์ลี เอ็บโด ส่วนที่อิสตันบูล ของตุรกี มีผู้ประท้วงราว 100 คน ออกมารวมตัวกันตามเสียงเรียกร้องของกลุ่ม Fraternal Platform of the Prophet’s Companions ด้วยบางส่วนก็ชูป้ายสองพี่น้องตระกูลคูอาชีเช่นกัน
        ประชาชนชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนร่วมชุมนุมกันที่มัสยิดอัล-อักดาของเยรูซาเลม พร้อมกับป้ายข้อความ “อิสลามคือศาสนาแห่งสันติ” และ “พระองค์มูฮัมหมัดจะทรงเป็นผู้นำของเราไปตลอดกาล” ขณะที่กองกำลังความมั่นคงอิสราเอลที่คอยทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกมัสยิดดัง กล่าว บอกว่าการสวดมนต์ในวันศุกร์(16ม.ค.) ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ และไม่มีรายงานเหตุความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมหลังจากนั้น
ในซูดาน มีประชาชนหลายร้อยคนหลั่งไหลไปยังมัสยิดกลางของกรุงคาร์ทูม และเดินขบวนข้ามไปยังจตุรัสแห่งหนึ่งที่อยู่ติดกัน พร้อมตะโกนว่า “ตะเพิดเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสออกไปซะ ชัยชนะของพระศาสดา” ขณะที่ป้ายของความหนึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับ มีใจความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสควรขอโทษ และรัฐบาลฝรั่งเศสควรหยุดดูหมิ่นบุคคลทางศาสนา”
การประท้วงต่อต้านการ์ตูนในเตหะรานถูกยกเลิก โดยไม่มีคำยืนยันถึงเหตุผลอย่างเป็นทางการ แต่อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านพูดกล่าวนักแสวงบุญว่าการตีพิมพ์การ์ตูนล้อศาสดามูฮัม หมัดเทียบเท่ากับความชั่วช้า
สภาอุลามาอ์อาวุโส ซึ่งเป็นองค์กรศาสนาสูงสุดของซาอุดีอาระเบีย ก็ประณามการตีพิมพ์ภาพล้อศาสนามูฮัมหมัดเช่นกัน โดยชี้ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์หรือเสรีภาพทางความ คิดใดๆเลย พร้อมเตือนว่าการเผยแพร่ภาพดังกล่าวรังแต่จะถูกพวกหัวรุนแรงสุดโต่งใช้เป็น ข้ออ้างในการเข่นฆ่าและก่อการร้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น