วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เยอรมันวางแผนขนทองกลับบ้าน

นับเป็นเวลาหลายปีที่ทองของธนาคารชาติเยอรมันเก็บอยู่ในเซฟของธนาคารชาติที่กรุงปารีส กรุงลอนดอนและนครนิวยอร์ก  โดยมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์และไม่มีปัญหารบกวนใจต่อผู้ดูแลทรัพย์สินของชาติหรือธนาคารชาติที่แฟรงค์เฟิร์ตแต่อย่างใด
โดยที่ผ่านมาเยอรมันไม่เคยกังขาในเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินของรัฐที่เก็บรักษาในต่างประเทศเลยก็ตามที  กระนั้น ในปี ๒๐๑๓ ได้เริ่มต้นนำทองแท่งจำนวนหลายตันจากต่างประเทศกลับมาเก็บไว้ที่ห้องใต้ดินของธนาคารกลางที่แฟรงค์เฟิร์ต  กำหนดแผนการอย่างช้าที่สุดสิ้นปี ๒๐๒๐ จำนวนครึ่งหนึ่งของทองสำรองเยอรมันควรเก็บไว้ในประเทศเยอรมัน
ในปลายปี ๒๐๑๓ การขนทองกลับมา ยังไม่ถึง ๑ ใน ๓ ของทองแท่งอยู่ที่แฟรงค์เฟิร์ต  ขณะนี้  Jens Weidmann ประธานธนาคารชาติกล่าวว่า ธนาคารทำตามแผน การนำทองจะกลับมาเก็บที่บ้าน   ซึ่งน่าจะสร้างความยินดีให้ชาวเยอรมันจำนวนมาก  ที่อยากให้สมบัติของมีค่าอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนมากกว่าเก็บรักษาในต่างแดน   เนื่องจากสาธารณชนเยอรมันไม่วางใจว่าทองแท่งอยู่ในต่างแดนจริง  และในกรณีวิกฤติสามารถเข้าถึงได้
Bundesrechnungshof  ถึงกับเรียกร้องการตรวจตราปริมาณอย่างถี่ถ้วนและการควบคุมเป็นประจำ  แต่ Carl-Ludwig Thiele กรรมการธนาคารชาติย้ำว่าธนาคารชาติไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อแรงกดดันจากสาธารณะ  แนวคิดการเก็บเป็นไปตามการตัดสินใจอย่างอิสระของคณะกรรมการธนาคารชาติ  ซึ่งขณะนี้ทำตามมติ  แต่ตามจริงในปี ๒๐๑๓ การเปลี่ยนที่เก็บทองเป็นไปอย่างเชื่องช้า  จากทอง ๖๗๔ ตันที่จนถึงปี ๒๐๒๐ ควรนำมาจากปารีสและนิวยอร์กมายังแฟรงค์เฟิร์ตมาถึงเฮสเซนเพียง ๓๗ ตัน  ๕ ตันจากนิวยอร์ก  ที่เหลือจากปารีส
ธนาคารชาติให้เหตุผลที่ขนย้ายในปริมาณน้อยว่า  ด้วยเหตุผลเงื่อนไขการจัดการที่ยุ่งยาก  นอกจากนั้น เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย  ทองจะถูกนำมาเพียงในปริมาณน้อย  ในปี ๒๐๑๔ ปฎิบัติการขนย้ายทองควรดำเนินต่อไป  โดยจนกว่าจะถึงสิ้นปี ควรนำทอง ๓๐-๕๐ ตันจากนิวยอร์กและ ๕๐ ตันจากปารีสมายังแฟรงค์เฟิร์ต  ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่ธนาคารชาติไม่เปิดเผย
แต่ Thiele สามารถขจัดความวิตกกังวลของพลเมืองเยอรมันได้หนึ่งข้อ  โดยกล่าวว่า  ไม่มีความข้องใจแม้แต่น้อยในความน่าเชื่อถือของธนาคารชาติอเมริกัน  การขนส่งที่ทำก่อนหน้านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้
การที่ส่วนใหญ่ของทองเยอรมันอยู่ในเซฟของธนาคารชาติอเมริกัน  ธนาคารชาติฝรั่งเศสที่ปารีส  และธนาคารชาติอังกฤษที่ลอนดอน  ล้วนมีเหตุผลประวัติศาสตร์  นับแต่กลางปี ๑๙๕๑ (ก่อนที่จะเป็นธนาคารชาติ) ได้เสริมปริมาณทองสำรอง  ในทศวรรษที่ ๕๐ และ ๖๐ สมบัติทองเยอรมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  การส่งออกนำเงินดอลลาร์มาให้สหพันธ์สาธารณรัฐจำนวนมากที่สามารถแลกกับทองที่ธนาคารชาติอเมริกันได้  ผลคือทุกวันนี้ธนาคารชาติมีสมบัติทองมากที่สุดเป็นอันดับ ๒ ของโลกรองจากสหรัฐ  ปลายปี ๒๐๑๔ ทองแท่งมีมูลค่า ๑๐๕,๐๐๐ ล้านยูโร
อย่างไรก็ดี ราคาตลาดขึ้น ๆ ลง ๆ  ปลายปี ๒๐๐๐ ยังมีมูลค่าเพียงราว ๓๓,๐๐๐ ล้านยูโร  แม้ว่าแต่ละปีแฟรงค์เฟิร์ตจะใช้ทองเพียงไม่กี่ตัน  ปริมาณทองลดลงผ่านการขายให้กับกระทรวงการคลังเพื่อปั๊มเหรียญทอง  ระหว่างสงครามเย็นมีความจงใจให้ทองเยอรมันถูกเก็บไว้ในภาคตะวันตกของแม่น้ำไรน์และไกลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ภายนอกพรมแดนประเทศ  นับจากการนำเงินยูโรมาใช้ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไรน์  อย่างน้อยสำหรับปารีส ข้อโต้แย้งที่ว่าในกรณีวิกฤติสามารถแลกทองที่เก็บไว้ที่ปารีสเป็นเงินสกุลอื่นได้ตกไป  ดังนั้น สถานที่เก็บที่ปารีสจึงควรถูกยุบไปในปีต่อ ๆ ไป  แต่สำหรับนิวยอร์กกับลอนดอนยังคงเก็บรักษาไว้ต่อไป
ดังนั้น จากสหรัฐจึงจะนำทองกลับมายังประเทศเยอรมัน ๓๐๐ ตัน (จากจำนวนมากกว่า ๑,๕๐๐ ตัน)  สำหรับทองแท่ง ๓๕,๖๔๐ แท่งที่ลอนดอนจะไม่ถูกแตะต้อง  ซึ่งมีเหตุผลหนักแน่นตามที่ Thiele ย้ำ  โดยกล่าวว่าในกรณีวิกฤติทองสามารถให้ยืมหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่น   ดังนั้น ส่วนหนึ่งของทองจึงจะยังอยู่ในสถานที่เก็บที่นิวยอร์กและลอนดอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น